Mean distance : ระยะทางในอวกาศ

sunflowercosmos.org - Homeschool


คือค่าเฉลี่ยของระยะทางที่มากที่สุด และระยะทางน้อยที่สุดของท้องฟ้าจากจุดเริ่มต้น หมายความว่าวัตถุในท้องฟ้าไม่ได้อยู่นิ่ง และจะโคจรเดินทางไปด้วยกัน เช่น ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เราจะกำหนดที่ 1 AU (150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) ซึ่งบางครั้งอาจอยู่ห่างโลกมากที่สุด (152,095,572 กิโลเมตร หรือ 1.0166961 AU) บางครั้งอาจใกล้โลกที่สุด (147,097,238 กิโลเมตร หรือ 0.9832843 AU) 

ดังนั้นตัวเลขระยะทางจึงต้องนำมาเฉลี่ยเป็นจำนวน 149.60 ล้านกิโลเมตร และตัวเลขระยะทางที่ไกลที่สุด หรือตัวเลขระยะทางที่ใกล้ที่สุดในแต่ละปีก็ไม่เท่ากัน แต่จะไม่เป็นสาระสำคัญของตัวเลขดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะทาง สามารถกล่าวโดยรวม ระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ = 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์

sunflowercosmos.org - Homeschool

Astronomical unit : หน่วยวัด ระยะทางดาราศาสตร์

สัญลักษณ์ตัวอักษรย่อ คือ AU แสดงค่าเฉลี่ยระยะทางในอวกาศ มีเกณฑ์นับระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ เท่ากับ 1 AU เป็นระยะห่าง 150 ล้านกิโลเมตร (93 ล้านไมล์) และเท่ากับ 215 Solar radii (รัศมีวงกลมของดวงอาทิตย์)

หน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ นับคำนวณระยะวงโคจรของดวงอาทิตย์ ในช่วงหมุนรอบตัวเองที่ 365.2568983 วัน Astronomical unit (AU) นิยมใช้บอกระยะทางในระบบสุริยะ ส่วนวัตถุที่โคจร เช่นดาวที่ไกลออกไป มักจะใช้หน่วยบอกระยะทางเป็นปีแสง (Light year)

sunflowercosmos.org - Homeschool

Light year : ปีแสง

หน่วยวัดระยะทางของลำแสง หรือการแผ่รังสีใดๆ เดินทางในอวกาศ เท่ากับเวลา 1 ปี แสงเดินทาง 1 ปี มีระยะ เท่ากับ 9,500,000,000,000 กม. เช่น เนบิวล่า กาแล็คซี่ กระจุกดาว (หรือสิ่งอื่นใดที่ไกลมาก) เป็นต้น เห็นได้ว่าการเขียน-อ่าน หน่วยเป็นปีแสงสะดวกมากกว่าแสดงหน่วยเป็นกิโลเมตร จึงนำหน่วยระยะทางปีแสง มาใช้แทนเพื่อเป็นการลดความยุ่งยากของตัวเลขจำนวนมากดังกล่าว

 
sunflowercosmos.org - Homeschool

Parsec : พาร์เซก

หรือ Parallax of one arcsecond (ใช้อักษรย่อว่า pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์จากโลก รัศมีครึ่งแกนยาว (Semimajor axis) ของวงโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ ทำมุมกับดาวเท่ากับ 1 ฟิลิปดา (arc second) โดยระยะทาง 1 pc เท่ากับ 3.258 ปีแสง

SunflowerCosmos.org 

เผยแพร่ความรู้ ด้านจักรวาลวิทยา สำรวจอวกาศ ดาราศาสตร์ รายงานต่างๆ สำหรับเยาวชน ผู้สนใจทั่วไป สามารถนำเผยแพร่ได้ ตามอัธยาศัยไม่สงวนลิขสิทธิ์ สำหรับกรณีใช้เพื่อ การศึกษา ส่วนข้อมูลหรือภาพที่มี ข้อความระบุลิขสิทธิ์ ของผู้อื่น-สถาบันอื่น กรุณาขออนุญาต โดยตรงจาก แหล่งข้อมูลนั้นๆ และ SunflowerCosmos.org ได้เผยแพร่ข้อมูล ครั้งแรกเมื่อ 27 มกราคม ค.ศ 2007 โดยใช้ฐานข้อมูลจาก NASA และ ESA

Glossary of Astronomy Terms : ศัพท์ดาราศาสตร์

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม