Meteor Shower : การสังเกตการณ์ฝนดาวตก
ฝนดาวตก เกิดจากเศษซากธารฝุ่นของดาวหางโคจรผ่านไปยาวนานแล้วแต่ยังหลงเหลือในอวกาศค้างเป็นทางยาวนับแสนกิโลเมตร และในบางกรณีเกิดจากฝุ่นละอองของดาวเคราะห์น้อย ในขณะเดียวกันโลกมีทางโคจรตัดผ่าน เส้นทางดังกล่าวของดาวหาง จึงมองเห็นธารฝุ่นเป็นฝนดาวตก (Meteor shower) ฝนดาวตกไม่ได้ตกสู่พื้นโลก ความจริงเกิดขึ้นห่างจากโลกสูงขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศประมาณ 700-800 กม. เป็นการเกิดจากจุดๆหนึ่งฟุ้งกระจายออกมาเรียกว่า จุดแผ่กระจายฝนดาวตก (Radiant) เป็นริ้วพาดผ่านท้องฟ้า มีการแตกระเบิดออกเป็นลูกไฟหรือ ไฟว์บอล (Fireball) สาเหตุเกิดการเสียดสีกันในชั้นบรรยากาศ
การเรียกชื่อฝนดาวตก เรียกตามแหล่งที่เกิดขึ้นบริเวณกลุ่มดาวนั้นๆ เช่น เกิดขึ้นบริเวณกลุ่มดาวสิงโต (Leo) เรียกว่า Leonid (ลีโอนิสก์) เกิดขึ้นบริเวณกลุ่มดาว Perseus (พอร์ซิอัส) เรียกว่า Perseid (พอร์ซิอิส) เป็นต้น ในบางกรณีเช่น ฝนดาวตกเจมินิดส์ มิใช่เกิดจากดาวหางแต่เกิดจากวัตถุที่ชื่อว่า 3200 Phaethon (เฟธอน) ลักษณะ เหมือนหินแปลกประหลาด เพราะได้สลัดเศษซากฝุ่นกระจายตัวออกมาผ่านโลก ในตำแหน่งของกลุ่มดาวคนคู่ หรือ Gemini (เจมินี่) ทำให้เกิดเป็นฝนดาวตกชื่อ Geminids (เจมินิดส์)
โดยทั่วไปฝนดาวตกเกิดขึ้นเกือบทุกวัน แต่เรามองไม่เห็นเพราะ อาจน้อยเกิดไปเช่น ชั่วโมงละ 1-2 ดวง และบางครั้งเกิดขึ้นกลางวัน หรือเกิดในบริเวณซีกโลกด้านอื่นแต่สำหรับในประเทศไทย พอจะสังเกตการณ์ได้ ดังนี้
1.Quadrantids (ควอดแดรนต์) ต้นกำเนิดจาก ดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 / ช่วงอัตราสูงสุด 3-4 มกราคม
2.Lyrids (พิณ) ต้นกำเนิดจาก ดาวหาง
C/1861 G1 (Thatcher) / ช่วงอัตราสูงสุด 21-22 เมษายน
3.Perseids (เพอร์ซิอิส) ต้นกำเนิดจาก ดาวหาง Swift–Tuttle / ช่วงอัตราสูงสุด 12-13 สิงหาคม
4.Orionids (นายพราน) ต้นกำเนิดจาก ดาวหาง Halley / ช่วงอัตราสูงสุด 21-22 ตุลาคม
5.Leonids (สิงโต) ต้นกำเนิดจาก ดาวหาง 55P/Tempel–Tuttle / ช่วงอัตราสูงสุด 17-18 พฤศจิกายน
6.Geminids (คนคู่) ต้นกำเนิดจาก ดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaethon / ช่วงอัตราสูงสุด 13-14 ธันวาคม
ข้อแนะนำในการเตรียมตัวสังเกตการณ์ฝนดาวตก ควรปฎิบัติดังนี้
1.ตรวจสอบข้อมูล เรื่องวัน-เวลา และตำแหน่งของทิศที่จะเกิดฝนดาวตก
2.ไม่จำเป็นต้องใช้กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ เพราะจะหันกล้องมองไม่ทัน
3.ไม่จำเป็นต้องไปอยู่บนภูเขาสูง เพียงอยู่บนที่ราบและท้องฟ้าปราศจากเมฆและแสงไฟ
4.การหาจุดสังเกตการณ์ ควรเป็นที่ราบทั่วไปและไม่มีต้นไม้ใหญ่ หรืออาคารบ้านเรือนบังท้องฟ้า
5.กรณีสังเกตจากอาคารสูง ห้ามยืนบนหลังคาหรือระเบียงที่ไม่มีที่ยึดเกาะมั่นคง เพราะหากเผลอลืมตัวขณะที่กำลังมองท้องฟ้า และมักมีอุบัติตกลงมาจากที่สูงเสมอ
6.ไม่ต้องกังวลว่าฝนดาวตกจะพุ่งปะทะโลก ส่วนใหญ่มักจะขนาดเล็ก เกิดเสียดสีกับชั้นบรรยากาศและหายไปสิ้น แทบไม่มีโอกาสตกสู่พื้นดิน
7.กรณีที่เกิดขึ้นในช่วงดวงจันทร์เต็มดวง จะส่งผลให้เกิดแสงจันทร์รบกวนการมอง ซึ่งอาจจะเห็นฝนดาวตกได้น้อยลง
8.สำหรับผู้ชื่นชอบสะเก็ดดาว และพบเห็นมีการขายโดยอ้างถึงเป็นการเก็บจากฝนดาวตก หรือจากกรณีอื่นๆ โดยเฉพาะนำมาขายในราคาไม่กี่ร้อยบาท ทั้งหมดนั้นอาจเป็นเพียงแร่ทั่วไปที่มีรูปทรงทำให้เชื่อว่าเป็นสะเก็ดดาว (อุกกาบาตชิ้นเล็กๆ) ข้อเท็จจริง สะเก็ดดาว ต้องผ่านการพิสูจน์จากห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์และต้องมีใบรับรองเท่านั้น ราคาซื้อขายชิ้นเล็กๆจะสูงถึงหลักหมื่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น